วิธีการเลี้ยงหมู เรื่องหมูๆ ด้วยโพรไบโอติกส์

สำหรับคนเลี้ยงหมูทุกคน มักจะเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการเลี้ยงอยู่ตลอดเลยใช่มั้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคต่างๆ และพวกแบคทีเรียที่มักจะทำให้หมูที่เราเลี้ยงดูเจ็บป่วยและไม่แข็งแรงอยู่เรื่อย
.
ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการใช้โพรไบโอติกส์เข้ามาเป็นตัวช่วยกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยลดใช้ยาปฏิชีวนะในหมูแล้ว ยังส่งผลดีต่อการเจริญเติบโต และยังป้องกันโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ก่อโรคได้อีกด้วย! ที่สำคัญเลยคือการใช้โพรไบโอติกจะปลอดภัยต่อทั้งตัวสัตว์เลี้ยง และไม่ทำให้มีสารเคมีตกค้างไปจนถึงผู้บริโภคนั่นเอง
.
วันนี้เรามีตัวอย่างมาให้ดูกันด้วยว่า ‘โพรไบโอติกส์’ มีประโยชน์ต่อแม่หมู ลูกหมู และหมูขุนในเล้าของเรายังไงกันบ้าง ตามไปดูกันเลย

มาเริ่มต้นกันที่เหตุผลหลักที่การเลี้ยงสุกรของเราควรมีโพรไบโอติกเข้ามาเป็นตัวช่วยกันก่อนเลย เพราะ “การเกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร” สามารถส่งผลเสียต่อสุกรของเราได้มากกว่าที่คิดเลยค่ะ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลนี้ก็ยกตัวอย่างเช่น
1. ความเครียด ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหาร การย้ายฝาก การเลี้ยงที่หนาแน่นเกินไป หรือการฉีดวัคซีน
2. สภาพอากาศของโรงเรือนที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
3. การใช้ยาปฏิชีวนะ ที่มีผลต่อการทำลายเชื้อที่ดีในทางเดินอาหารของสุกร
4. การติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดลำไส้อักเสบ
5. การทานอาหารที่ด้อยคุณภาพ มีกากอาหารที่สัตว์ย่อยไม่ได้อยู่ค่อนข้างเยอะ
6. ระบบทางเดินของลูกสุกรแรกเกิดที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทั้งระบบภูมิคุ้มกันลำไส้และระบบการย่อยอาหาร
ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุที่สัตว์เลี้ยงของเราควรได้รับโพรไบโอติก เพื่อเข้าไปปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดความเครียด ส่งเสริมระบบย่อยอาหาร และยังช่วยยับยั้งเชื้อก่อโรคหรือแบคทีเรียที่ก่อโรคติดเชื้อต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของการถ่ายเหลวและท้องเสียของสุกรได้อีกด้วย
แอบแถมอีกว่าโพรไบโอติกเหมาะกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์แรกเกิดที่ลำไส้ยังปลอดเชื้อจุลินทรีย์อยู่ เพราะการได้รับโพรไบโอติกจะเป็นการเติมจุลินทรีย์ที่ดีให้ทางเดินอาหาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเลี้ยงสัตว์นั่นเอง

การเลี้ยงลูกสุกรให้มีสุขภาพแข็งแรงและโตเร็วนั้น แม่สุกรควรจะมีน้ำนมที่ดี มีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันสูง และจะต้องมีปริมาณเพียงพอต่อลูกๆ ทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งลูกสุกรแรกเกิดควรได้รับน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมที่อุดมด้วยสารอาหารและภูมิคุ้มกันในวันแรกเกิดอย่างน้อย 200 กรัมต่อลูกสุกร 1 ตัว
โดยปกติแล้ว แม่สุกร 1 ตัว จะต้องเลี้ยงดูลูกสุกรอย่างน้อย 12 ตัวขึ้นไป แม่สุกรจะนำสารอาหารที่กินเข้าไป ไปใช้ในการสร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูก รวมถึงสลายพลังงานที่สะสมในร่างกายบางส่วน ส่งผลทำให้แม่สุกรมีสภาพร่างกายที่ซูบผอมและทรุดโทรม ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลต่อไปยังความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์และกระทบต่อวงรอบของการตั้งท้องครั้งต่อไปให้ช้าลงกว่าปกติ
นั่นเป็นเหตุผลที่เราควรรักษาสุขภาพร่างกายของแม่สุกรด้วยโพรไบโอติก ให้มีความสมบูรณ์และไม่ทรุดโทรมอยู่เสมอนั่นเอง

อาหารหลักของลูกหมูวัยก่อนหย่านมคือ นมของแม่หมู โดยลูกหมูจะได้รับภูมิคุ้มกันผ่านทางน้ำนมเหลืองของแม่หมูในวันแรกเกิดนี้เอง จากนั้นจะอาศัยน้ำนมขาว และอาหารเลียรางในการเจริญเติบโตต่อไป
ซึ่งเป้าหมายหลักๆ ของคนเลี้ยงหมูในการเลี้ยงลูกหมูก่อนหย่านมก็คือ ทำอย่างไรให้ลูกหมูกินนมได้ดี ไม่ซึม ไม่ป่วย และทำอย่างไรให้ลูกหมูมีน้ำหนักดีก่อนที่ลูกหมูจะหย่านม
แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่เราพบในการเลี้ยงลูกหมูคือ ลูกหมูซึมและป่วย จากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ มีอาการท้องเสียและถ่ายเหลวจากการติดเชื้อ E.Coli บิด และ คลอสทริเดียม โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกหมูติดเชื้อง่ายก็เกิดจากการมีระบบภูมิคุ้มกันที่พัฒนาไม่เต็มที่นั่นเอง
การใช้โพรไบโอติกในลูกหมูก่อนหย่านมจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีมากๆ เพราะโพรไบโอติกจะเข้าไปช่วยควบคุมเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดปัญหาท้องเสียนี้ได้ แถมยังซ่อมแซมแผลในลำไส้ ทำให้วิลไลสมบูรณ์แข็งแรง และยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานโรคอีกด้วย ทำให้ลูกหมูมีทางเดินอาหารที่แข็งแรง และช่วยให้ลูกหมูมีน้ำหนักหย่านมดี ADG สูง

ปิดท้ายกันด้วยเรื่องราวของหมูอนุบาล หรือสุกรขุน
ในการเลี้ยงหมูอนุบาล มักจะมีปัญหาที่แทบทุกฟาร์มต้องเจอไม่ว่าจะเป็น ปัญหาลูกหมูมีอาการ Set back ท้องเสีย ติดเชื้อ E.Coli ชัก และตาย ซึ่งอาการเหล่านี้มีสาเหตุหลักๆ มาจากความเครียดของลูกหมู ไม่ว่าจะเป็น
– ความเครียดจากการแยกจากแม่ ไม่ได้กินนมแม่หรืออาศัยอยู่กับแม่แล้ว
– ความเครียดจากการต้องอยู่รวมกันกับลูกหมูแปลกหน้าอื่นๆ คล้ายกับการที่ต้องเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลของเด็กอนุบาลเลยค่ะ การที่ต้องเผชิญกับลูกหมูแปลกหน้าที่มาจากหลายแหล่ง จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเชื้อโรคกันเกิดขึ้นได้
ซึ่งในปัจจุบันงานวิจัยต่างๆ กล่าวว่าความเครียดที่เกิดขึ้นของลูกหมูจะส่งผลต่อปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดีในทางเดินอาหารลดลง ทำให้ลูกหมูท้องเสีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดได้
ดังนั้นการเสริมโพรไบโอติกกับลูกสุกรขุน นอกจากจะช่วยลดความเครียด กระตุ้นการอยากอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่กินเข้าไป ซ่อมแซมลำไส้ส่วนที่เสียหาย สร้างสมดุลในทางเดินอาหารแล้ว ยังช่วยทำให้คุณภาพซากสุกรมีการสะสมไขมันลดลง ทำให้ไขมันไม่ถูกนำไปสะสมในร่างกายมากจนเกินไปอีกด้วย
เมื่อความเครียดลดลง ทางเดินอาหารสมดุลมากขึ้น ลูกหมูก็จะเติบโตได้ดี แข็งแรง และมีอัตราการแลกเนื้อที่ดีตามมานั่นเอง

#KMPBiotech
#Beefcattle #Cattlefeeding #Livestock #Poultry #Broiler #Layer #Chicken #Pig #Piglet #FatteningPig #การประมง #การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ #ไก่, #โคกระบือ #โปรไบโอติกส์ #ฟาร์ม #สัตวบาล, #สุกร #สัตว์เลี้ยง #อาหารสัตว์ #ไก่เนื้อ #ไก่ไข่ #ไก่พันธุ์ #ลูกหมู #หมูขุน